วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานวิจัย(ภาษาไทย)

หัวข้อวิจัย
แนวทางพัฒนาทีมงานสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในทัศนะของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข

ชื่อผู้วิจัย
นางวัชรินทร์ กีรติกสิกร


ปี 2549

เหตุผลในการเลือกงานวิจัยฉบับนี้
ปัจจุบันองค์การต่างๆ ต้องมีการปรับตัวเพื่อมุ่งเน้นความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กรให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ มาปรับใช้ในการบริหารงานร่วมกัน องค์การต่างๆ จึงจำเป็นต้องพัฒนาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อเน้นให้บุคลากรกระตือรือร้นในการเรียนรู้ตลอกเวลา มีการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทีมงาน และองค์การให้ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
1.เพื่อศึกษาลักษณะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข

2.เพื่อศึกษาทัศนะต่อการทำงานเป็นทีมไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของกระทรวงสาธารณสุข

3.เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาทีมงานไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข

แนวคิดและทฤษฎี
1. แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้

2. แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม

3. ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะโครงสร้างและการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข

4. ลักษณะโครงสร้างและการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข

5. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

กรอบแนวคิดในการวิจัย



ขอบเขตและวิธีการในการวิจัย
1.ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ได้แก่หนังสือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


2.เป็นการศึกษาเฉพาะประชากรเฉพาะที่เป็นข้าราชการระดับปฏิบัติการของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานส่วนกลาง จำนวน 234 คน

หลักสถิติที่ใช้ในการวิจัย
1.ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล


2.การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS

3.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

4.ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลวิจัย
1.ลักษณะการทำงานเป็นทีม 3 ด้าน ได้แก่ มีจิตสำนึกในการเข้ามามีส่วนร่วมด้วยตนเอง มีการติดต่อสื่อสารและประสานงานกัน และมีลักษณะการพึ่งพาอาศัยกัน

2.ทัศนะต่อการทำงานเป็นทีมไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ 4 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน, การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์, การร่วมกันคิดค้นหาวิธีการปฏิบัติ และมีการปรับตัวตอบสนองต่อการบริหารจัดการที่มีการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

3.แนวทางพัฒนาทีมงานไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ 4 ด้าน ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน, การติดต่อสื่อสารเป็นแบบ 2 ทาง, การมอบหมายอำนาจหน้าที่ชัดเจนและกระจายความรับผิดชอบ และมีการสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง


คำถาม

1.ถ้าต้องการให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรบ้าง?

งานวิจัย(ภาษาอังกฤษ)

Topic
ความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลเกี่ยวกับการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ณ โรงพยาบาลที่มีการจัดการเรียนการสอน 2 แห่งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

Author
นางลี เสียวหลิง

Year
1996

Objective of the research
1.เพื่อศึกษาความรู้ของพยาบาลที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดเชื้อ

2.เพื่อศึกษาการปฏิบัติของพยาบาลที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดเชื้อ

3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดเชื้อ

Theory and conceptual
แนวคิดของ Heley ที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคและต้นแบบของการให้การศึกษาด้านสุขภาพ

Framework



Statistic
เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษากลุ่มพยาบาล จำนวน 200 คน ซึ่งเป็นพยาบาลที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 1 ปี ในโรงพยาบาลที่มีการจัดการเรียนการสอน 2 แห่ง ในมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ของจีนตะวันตก


Research Methodology
1.ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร, ข้อมูล, ความรู้และการปฏิบัติ

2.หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของความรู้เท่ากับ 0.82 และการปฏิบัติ เท่ากับ 0.75

Research result
1.พยาบาลมีความรู้ด้านการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลอยู่ในระดับดี แต่ยังมีความรู้จำกัดด้านหลักการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อครอบจักรวาล การเฝ้าระวังการติดเชื้อ วิธีการล้างมือที่ถูกต้องและการกำจัดขยะ

2.พยาบาลปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลยู่ในระดับดี แต่ยังขาดการนำหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลมาใช้ รวมทั้ง การเฝ้าระวัง การล้างมือ และการดูแลสุขภาพ

3.ความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลมีความพันธ์กันในทางบวก นั่นคือถ้ามีความรู้ดีก็จะสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง

Reason to select this research paper
เหตุผลที่เลือกงานวิจัยนี้ จะเห็นได้ว่างานวิจัยนี้ตั้งแต่ปี 1996 ซึ่งเป็นงานวิจัยที่นานมาแล้ว ถ้าดูดีๆ จะเห็นว่ามีการนำเอา KM และ KM Tools มาใช้ในการวิจัยด้วย และทำให้เราได้ทราบว่าความรู้ที่มีกับงานที่ปฏิบัตินั้นควรมีควบคู่กัน


Question
1.งานวิจัยครั้งนี้ต้องการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง?

กิจกรรม KM For Fun...D

ก่อนวันงานพวกเรานักศึกษา KM ทั้ง 3 รุ่น ช่วยกันเตรียมงานและเตรียมความพร้อมกันอย่างพร้อมเพียง มีทั้งความสนุกสนานและความตื่นเต้นในการเตรียมรับกับงานที่จะเริ่มในวันที่ 27-28 กันยายน 2550

และแล้ววันที่ 27 กันยายน 2550 ก็ได้มีการเปิดกิจกรรมดีๆ นี้ขึ้น ในเวลา 9.00 น.
วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ

1. เพื่อนำเงินรายได้จากการจัดกิจกรรมของโครงการมาจัดตั้ง กองทุน KM Fun…D Learning เพื่อใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา KM หลักสูตรการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในรุ่นต่อๆ ไป
2. เพื่อเป็นการบูรณาการความรู้โดยใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้หลายรูปแบบสำหรับการดำเนินกิจกรรม
3. เพื่อนำความรู้จากการศึกษาการจัดการความรู้มาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและช่วยในด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน

กิจกรรมต่างๆ ที่จัดในงาน
1. รับมือโลกร้อนแล้วย้อนดู ด้วยการแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายของไทย ร่วมมือร่วมใจช่วยกันรณรงค์แต่งกายด้วยสินค้าของไทย การจัดการความรู้นำสู่วิวัฒนาการสู่กระบวนการผลิตผ้าฝ้าย ถักทอจนเป็นเครื่องแต่งกาย แบบสบาย ๆ การแสดงแฟชั่นโชว์ ชุดผ้าฝ้าย มีจำหน่ายเสื้อผ้าฝ้ายราคาถูก

2. มีการจัดการความรู้ด้านสุขภาพให้ความรู้ในด้านสุขภาพกายและจิต บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นและให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารสารประกอบของอาหารแต่ละชนิด รวมทั้งจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ

3. กิจกรรมบนเวที มีการตอบปัญหาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ระหว่างผู้ร่วมงาน

4. SDU Business Alliance Directory เพื่อทำฐานข้อมูลธุรกิจของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


เสื้อ, กางเกง, กระโปรง และกระเป๋าแบบต่างๆ ซึ่งทำจากผ้าฝ้ายแบบสวยๆ เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัยและอากาศเมืองไทย ซึ่งดูได้จากนายแบบและนางแบบของเรานะคะ



สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ รายได้ทั้งหมดเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว รวมทั้งเงินที่มีผู้ร่วมบริจาค พวกเราจะนำเงินทั้งหมดนี้ไปบริจาคให้กับมูลนิธิเด็กพิการทางสมองและปัญญาบ้านเฟื่องฟ้า สำหรับกิจกรรมต่อไปจะนำภาพและประสบการณ์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ...บาย

ศึกษาดูงานที่บริษัท เอ็นโอเค คอมโพเนนท์(ประเทศไทย) จำกัด

คุณสราวุฒิได้อธิบายให้ทราบถึงประวัติและความเป็นมาของบริษัทฯ วิสัยทัศน์ นโยบายการบริหาร ซึ่งทำให้พวกเราได้ทราบถึงการจัดการความรู้ที่บริษัทฯได้นำมาใช้กับพนักงานทุกคน งานเอกสารส่วนใหญ่ทุกคนต้องเป็นคนกรอกเอกสารและต้องทำในคอมพิวเตอร์เท่านั้น


คุณสราวุฒิได้แบ่งกลุ่มผู้เข้ามาเยี่ยมชมเพื่ออธิบายงานในส่วนต่างๆ เอกสารที่เก็บอย่างเป็นหมวดหมู่ ซึ่งเอกสารต่างๆ เหล่านี้พนักงานทุกคนจะต้องเขียนข้อเสนอแนะให้ทางบริษัทฯ ปีละอย่างน้อย 2 ข้อ เพื่อเป็นการประเมินผลให้คะแนนสะสมตอนสิ้นปี

หลังจากนั้นพวกเราได้เดินชมสถานที่ต่างๆในบริษัทฯ ซึ่งจัดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยใช้หลัก 5 ส

อุปกรณ์ทุกชิ้นจะมีป้ายสัญลักษณ์บอกเพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบ

ดร.อมรวรรณ ลิ้มสมมุติ อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา KM รุ่น 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ได้มาศึกษาดูงานในครั้งนี้ ทำให้พวกเราได้รับความรู้ความเข้าใจในการจัดการความรู้ที่เราพวกสามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรได้

กิจกรรมเพื่อสังคม